วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้ในการซ่อมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


- เกร็ดความรู้ในการซ่อมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น - โดย joeaun   hit : 4748       
อ่านไว้จาได้ไม่ต้องยกคอมไปร้านซ่อม มานหนัก

Intro   ทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์

การจะแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เราต้องรู้จักชิ้นส่วนต่างๆก่อน ว่ามีหน้าที่อย่างไรบ้าง!!

ส่วนประกอบภายใน 
Mainboard

                
เมนบอร์ด คือ อุปกรณ์หลักคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน โดยตัวเมนบอร์ดจะมี Chipset ที่เป็นตัวคอมคุมการส่งผ่านข้อมูลจากอุปกรณีหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง
BIOS

                

ไบออส หรือ CMOS เป็นหน่วยความจำที่มีหน้าที่ในการเก็บค่าต่างๆ ของเมนบอร์ดเอาไว้ โดยไบออสจะฝังอยู่ในเมนบอร์ด เราสามารถเข้าไบออสด้วยการกดปุ่ม Del , F2 หรือ F10 ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเมนบอร์ดที่ใช้
CPU

                

ซีพียู คือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเทียบเสมือนสมองกลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่คำนวณคำสั่งต่างๆ และสั่งให้แสดงผลลัพธ์ออกมา โดยซีพียูเองจะมีชุดคำสั่งในการประมวลผลข้อมูล ตัวอย่างซีพียูที่โด่งดังในตลาดเช่น lntel หรือ AMD
VGA Card
                




การ์ดแสดงผล เป็นตัวที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลกราฟฟิก เพื่อทำหน้าที่แสดงภาพขึ้นไปบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
RAM

                

หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราว เพื่อที่จะนำไปส่งให้ฮาร์ดดิส ซีพียูหรืออุปกรณ์อื่นๆ ต่อไป โดยข้อมูลที่เก็บอยู่ในแรมนั้นจะหายไปเมื่อมีการปิดเครื่อง
Harddisk

                

ฮาร์ดดิส เป็นส่วนสำคัญในการเก็บข้อมูลถาวรในส่วนใหญ่เครื่องคอมฯ แบบมาตรฐานนั้นจะสามารถต่ออุปกรณ์ฮาร์ดดิสได้มากที่สุดถึง ตัวด้วยกัน
Floppy disk Drive

                

ฟล็อปปี้ดิสก์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลในแผ่นดิสไดรว์A
Combo Drive

                



คอมโบไดรว์ สามารถจะทำได้ทั้งเขียนแผ่น (Write) CD-R ลบ/เขียนแผ่น (Rewrite)  CD-RW และสามารถที่จะอ่านแผ่น CD-R , CD-RW, DVD ได้

ส่วนประกอบภายนอก


จอคอมพิวเตอร์ มีหลักๆ2แบบคือ จอแบบเก่าที่เรียกว่า CRT กับจอแบบใหม่ คือ LCD คับ

เคส เป็นส่วนที่ยึดอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยเคสจะมีลักษณะเป็นกล่องมาพร้อมกับพาวเวอร์ซับพลาย โดนอุปกรณีทั้งหมดจะถูกติดตั้งอยู่ภายในเคส

แฟลชไดรว์ เป็นหน่วยความจำแบบพกพาชนิดหนึ่ง (คล้ายๆmp3) ทำหน้าที่เช่นเดียวกับฮาร์ดดิส

โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารอีกตัวทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยังโลกอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีมากมายหลายแบบ พร้อมกับความเร็วที่เลือกได้ เช่น Analog Modem , ADSL Modem , ISDN Modem และอื่นๆ

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์ข้อมูลสู่กระดาษ โดยหลักๆแบ่งการทำงานเป็น แบบ แบบเข็ม,แบบพ่นหมึก,แบบเลเซอร์

แสกนเนอร์ เป็นเครื่องแปลงเอกสาร รูปภาพ วัตถุ ให้เป็นไฟล์รูปภาพที่นำไปใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

โปรแกรม แบ่งได้ แบบคือ แบบระบบปฏิบัติการ ( Windows ต่างๆ ) และแบบโปรแกรมเสริมอื่นๆ ที่ทำงานบน Windows เช่น Word , Excel

ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลแบบเสียงโดยแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์

คีบอร์ด เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งจะรับข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์แล้วเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปกับคอมพิวเตอร์

เมาส์ คือ อุปกรณ์ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น ด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ

สรุป จากการที่บอก หลักๆ แล้วคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ใช้งานไม่กี่ชิ้นหรอก หากรู้ว่าตัวไหนมีหน้าที่ทำอะไร ก็จะง่ายต่อการซ่อม

บทที่ 1    สาเหตุที่มักก่อให้เกิดปัญหา
รู้จักกับคอมพิวเตอร์ไปแล้ว คราวนี้มาดูสาเหตุบ้างว่าเกิดจากอะไร

ปัญหาจากฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ต่างๆ


     ในส่วนแรกนี้ขอพูดถึงหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์ ก็คือในส่วนของฮาร์ดแวร์ก่อนนะคับ โดยปกติแล้วปัญหาจากฮาร์ดแวร์ จะเกิดในช่วงแรกที่เพิ่งซื้อคอมฯ มาเท่านั้น(หลังจากใช้ได้เดือนถึงสองเดือน) หรืออีกทีก็ตอน หมดอายุการใช้งาน (หลังจากซื้อมา1ปีอาจจะเกิดตอนปีที่ หรือปีที่ 3)
     โดยทั่วไปอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นจากฮาร์ดแวร์ ก็จะเป็นอาการที่ทำให้ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมฯ ใช้งานได้เลย หรือเปิดเครื่องไประยะนึงแล้วเครื่องค้างไม่สามารถใช้งานต่อได้
     ส่วนใหญ่หากอยู่ในระยะประกันก็จะส่งเคลมจากร้านที่ซื้อมา หรือส่งเข้าศูนย์ที่นำเข้าอุปกรณ์นั้นๆ แต่ถ้าหมดประกันแล้วไม่ใช่อุปกรณ์ที่ซ่อมได้อย่างจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ก็จะไม่นิยมซ่อมเพราะเสียเวลามาก และในบางครั้งค่าซ่อมก็ราคาใกล้เคียงของใหม่อีกด้วย

ดูสาเหตุการณ์เกิดอาการเสีย

เมนบอร์ด
กระแสไฟฟ้าลัดวงจรและอาการไฟตก-ไฟดับ ดูจะเป็นตัวที่ทำให้เมนบอร์ดเสียได้ง่ายที่สุด รองมาก็เป็นฝุ่นและความร้อน สุดท้ายก็จะเป็นคุณภาพและยี่ห้อ ถ้ายี่ห้อไม่ดีเตรียมตัวได้เลย ส่วนใหญ่เกิิน ปีก็เสียซะแล้ว

การ์ดจอ
ปกติไม่ค่อยเสีย ถ้าเกิดการเสียจริงๆ ก็มาจากฝุ่นและความร้อนที่สูง และอีกสาเหตุคือไฟตก-ไฟดับ

การ์ดเสียง
อันนี้เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยเสีย ถ้าจะเสียก็คือหมดอายุการใช้งานของมันแล้ว และอีกสาเหตุคือไฟตก-ไฟดับ

แรม
ถ้าเสียมักจะเสียมาตั้งแต่ต้น ไม่ค่อยเสียในช่วงการใช้งานซักเท่าไร แต่ที่มักเจอปัญหาคือ ความไม่เข้ากันของแรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือไม่เข้ากับเมนบอร์ด ฉะนั้นควรเลือกแรมที่มีผู้ใช้งานเยอะๆ อย่าง Kingston , Corsair เพราะจะเข้าได้ดีกับเมนบอร์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะต้องทำงานสัมพันธ์กัน

ฮาร์ดดิส
ตัวนี้มักจะเสียจากการกระแทก ไฟตก-ไฟดับ ฝุ่นและอายุการใช้งาน ถ้าไม่ขยับเขยื้อนไปมาบ่อยๆ โอกาสเสียก็น้อย ยิ่งไม่มีไฟตก-ไฟดับ ก็ยิ่งทำให้ใช้งานได้ยาวขึ้น

ซีดีรอม
ส่วนใหญ่เสียเพราะใช้งานมากเกินไป หัวอ่านหมดอายุการใช้งาน

ฟล็อปปี้ดิสไดรว์
เสียยากมาก ถ้าไม่เจออาการลัดวงจรของไฟฟ้า ก็แทบใช้งานได้ตลอด จะมีอาการเสียก็มักจะเสียหลังจาก ปีที่ใช้งาน

ซีพียู
ชิ้นนี้หาทางเสียยาก แต่ต้องระวังเพราะปกติจะมาจากความร้อนในขณะที่ใช้งาน (พัดลมไม่ทำงาน) จนทำให้เกิดอาการไหม้ของซีพียูได้ อีกปัญหาคือไฟฟ้าลัดวงจร

จอภาพ
สำหรับจอภาพเกิดจากความเสื่อมของหลอดภาพ จนทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของสีอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งใช้ยี่ห้อไม่ดีอาการเสียจะปรากฏเร็วมาก

เครื่องพิมพ์
อาการเสียอยู่ที่หัวพิมพ์เป็นหลัก ถ้าเป็นแบบอิงค์เจ็ตเกิดจากการอุดตัน ถ้าเป็นหัวเข็มก็มักจะเข็มหัก

ปัญหาจากซอฟแวร์

     อย่างที่บอกนะครับปัญหาที่เกิดจากฮาร์ดแวร์เราไม่สามารถแก้อะไรได้มาก ส่วนใหญ่หากสามารถเปิดเครื่องขึ้นมาได้แล้ว ก็จะเป็นปัญหาของตัวซอฟแวร์นั้นเองเนื่องจากว่าซอฟแวร์เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ต่างๆ และเป็นส่วนที่มักจะเกิดปัญหามากที่สุด การแก้ไขทำได้ยากมากเช่นกันและปัญหามีหลายรูปแบบเลยล่ะคับดังนั้นผู้ซ่อมจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ต่างๆช่วยกันจึงทำได้
     ในส่วนนี้ก็ขอแยกปัญหาทางด้านซอฟแวร์ออกเป็นสองส่วนนะคับ คือ ปัญหาจากตัวระบบปฏิบัติการหลักหือพวก Windows และปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมต่างๆ หรือตัวที่เรียกว่า Application program นั่นเอง

ปัญหาจาก Window
Windows ถือเป็นส่วนที่รองรับโปรแกรมทุกอย่าง จึงเป็นตัวปัญหามากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่กว้างและยากต่อการแก้ไข แต่เคราะห์ดีที่ Windows เองยังมีเครื่องมือต่างๆ ไว้คอยช่วยเราแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

โปรแกรมต่างๆ ภายในเครื่อง
หลังจากแก้ปัญหาของ Windows ไปหมดแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ ก็เห็นจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมอื่นๆ เองแล้ว ที่พบบ่อยมากที่สุดก็จะเป็นปัญหาโปรแกรม Error อันเนื่องมาจากโปรแกรมไม่สมบูรณ์ พบได้กับโปรแกรม copy ทั้งหลายวิธีแก้ไขนั้นลองติดตั้งใหม่ดูก่อน ถ้าไม่หายก็ต้องหาตัวติดตั้งใหม่

ไดรเวอร์ปัญหาตัวสุดท้าย

     ปัญหาอีกอย่างคือไดรเวอร์ ตัวไดรเวอร์ทำหน้าที่บอกคอมฯว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้คืออะไรทำหน้าที่อะไรถ้าจะคิดเปรียบเทียบไดรเวอร์ก็เหมือนคุณครูนั่นเอง
     การเลือกใช้ตัวไดรเวอร์ต้องดูตัว Windows ด้วย เช่น เราไม่สามารถใช้ไดรเวอร์ของ Windows 98 บน Windows 2000 ได้เพราะอาจทำให้ Windows เกิดอาการเสียหายไม่สามารถใช้งานต่อไปได้หรือหากใช้ไดรเวอร์ไม่ตรงกับรุ่นก็ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆได้เช่นกัน
     นอกจากนี้หากไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์ก็อาจทำให้ Windows ของคุณมีปัญหาไปด้วยก็ได้ งานอาจถึงขั้นตอนติดตั้ง Windows กันใหม่ทีเดียว

วิธีการแก้ไขปัญหา

     จะขอแยกเป็น ส่วนนะคับ คือ แก้ไขปัญหากับอุปกรณ์ และแก้ไขปัญหากับโปรแกรมต่างๆ คับ

แก้ไขปัญหากับอุปกรณ์
     ส่วนใหญ่ต้องตรวจเช็คอุปกรณ์ให้ดีว่าเสียหรือไม่ โดยการถอดเข้าถอดออกหรือนำไปเสียบกับเครื่องอื่น ๆ ถ้ายังไม่สามารถใช้งานได้หรือตรวจสอบแบบละเอียดไม่ได้ให้นำไปร้านที่ซื้ออุปกรณ์มาตรวจสอบให้ หากมีปัญหาก็ส่งเคลมอุปกรณ์ชิ้นนั้นทันทีหากมีประกันอยู่ แต่ถ้าหมดประกันแล้ว งานนี้ซื้อใหม่ดีกว่าคับยกเว้นว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเป็นจอภาพ,เครื่องพิมพ์,ลำโพง,เคส พวกนี้ซ่อมได้ราคาไม่แพงด้วย
     เทคนิคที่หาอุปกรณ์เสียที่ง่ายที่สุดก็คือ การถอดอุปกรณ์ออกมาเสียบเข้าไปใหม่ให้แน่น ส่วนอีกเทคนิคคือหาอุปกรณ์ที่มั่นใจว่าทำงานได้มาสลับสับเปลี่ยนกับเครื่องคุณดู ค่อยๆสลับไปทีละตัว หากสลับตัวไหนแล้วทำงานได้ก็สามารถสรุปได้ว่าอุปกรณืชิ้นนั้นมีปัญหา ให้เปลี่ยนหรือแก้ไขต่อไป ง่ายๆ แค่นี้แหละคับ แต่ใครไม่มีอะไหล่แนะนำยกไปให้ช่างดีกว่า
     อีกวิธีคือ การวิเคราะห์อาการคับ เช่น หากเปิดเครื่องแล้วไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอ ก็ให้คิดว่าอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการแสดงภาพ กรณีนี้ก็มีเมนบอร์ด ซีพียู แรม และการ์ดจอ สันนิษฐานก่อนได้เลยว่าเป็นหนึ่งใน ชิ้นนี้แหละคับ ที่เสียหายลองถอดอุปกรณ์เข้า - ออกหรือสลับสับเปลี่ยนดู ก็จะพบปัญหาแน่นอน

แก้ไขปัญหากับโปรแกรม
    หากโปรแกรมไหนมีปัญหาก็ให้ลบทิ้งไป แล้วค่อยติดตั้งลงไปใหม่ เพื่อให้โปรแกรมสมบูรณ์พร้อมการใช้งาน แต่ถ้ายังไม่หายก็ให้เปลี่ยนตัวติดตั้งโปรแกรม หากยังไม่หายแสดงว่าตัว Windows อาจมีปัญหากับโปรแกรมที่คุณติดตั้ง หากต้องการใช้งานโปรแกรมนั้นจริงๆ ลองเปลี่ยนตัว Windows ไปเป็นเวอร์ชั่นอื่นๆ ดู  หรือลงWindows ทับอีกรอบเพื่อแก้ไขส่วนที่เกิดปัญหา เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ไขปัญหากับตัวโปรแกรมได้แล้ว 

อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับแก้ไขปัญหา
ไขควง ควรอยู่ใกล้ๆกับเคสเพราะหากมีปัญหาอุปกรณ์เมื่อใด ก็จะสามารถไขเปิดดูอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทันที
แผ่นบู๊ตเครื่อง อันนี้ต้องมีเสมอมักจะเรียกอีกอย่างว่าแผ่น Startup Disk สามารถทำได้จาก Windows 98 หรือ Me สำหรับบู๊ตเครื่องหากเครื่องบู๊ตไม่ได้
แผ่นติดตั้ง Windows เป็นอีกตัวที่ต้องมีติดไว้เสมอ เพราะหากเข้าเครื่องไม่ได้หรือ Windows เกิดมีปัญหา จะได้ติดตั้งใหม่ได้เลย
แผ่นติดตั้งโปรแกรมต่างๆ คงจะหงุดหงิดไม่น้อยหากติดตั้ง Windows ใหม่แล้วไม่มีโปรแกรมสำหรับใช้งาน เตรียมเอาไว้ รับรองได้ใช้งานบ่อยๆ แน่นอน

บทที่ ไขปัญหาฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ต่างๆ
บทนี้เริ่มด้วยการแก้ปัญหาพื้นฐานกันก่อนซึ่งคือฮาร์ดแวร์


ข้อความแสดงข้อผิดพลาดเมื่อเปิดเครื่อง

ปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์ของเครื่อง โดยเทคนิคที่เรียกว่า POST ซึ่งหากประสบปัญหาคอมพิวเตอร์จะคืนค่ากลับมาเป็นตัวเลขและชื่อสั้นๆเป็นหน้าจอดำ เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาได้ โดยโค๊ดต่างๆมีความหมายดังนี้

- CMOS CHECKSUM ERROR
เกิดจากไบออสมีปัญหา ส่วนใหญ่จะเป็นตั้งแต่เริ่มใช้เครื่องใหม่ๆแล้ว หากใช้มาระยะหนึ่งก็คือถ่านไบออสใกล้หมดแล้ว เปลี่ยนถ่านใหม่ก็หาย

- FLOPPY DISK (S) FAIL (80)
ไดร์ มีปัญหามองไม่เห็นให้ตรวจเช็คว่าเสียบสายถูกต้องและตรวจเช็คว่าไดร์ ทำงานได้อยู่ ด้วยการนำไปต่อกับการใช้คอมเครื่องอื่นๆ ดู

- FLOPPY DISK (S) FAIL (40)
ไดร์ ที่เลือกไว้ไม่ตรงกับที่ใช้งานอยู่ ให้เปลี่ยนค่าในไบออสให้ถูกต้อง

- HARD DISK DISK(S) FAIL (80)
ฮาร์ดดิสตรวจเช็คไม่ได้ หาไม่เจอ ให้ตรวจเช็คว่าเสียบสายถูกต้องหรือยัง ถ้าเสียบถูกต้องแล้วให้ลองไปเสียบกับเครื่องอื่นดู เพื่อเช็คว่าฮาร์ดดิสเสียหรือไม่

- HARD DISK DISK(S) FAIL (40)
ตัวควบคุมฮาร์ดดิสที่อยู่บนบอร์ด (IDE0 , IDE1)

- HARD DISK DISK(S) FAIL (20)
เริ่มไม่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสได้ ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นจากเมนบอร์ดไม่สามารถรองรับฮาร์ดดิสที่เลือกใช้ มักเกิดขึ้นจากเอาเมนบอร์ดรุ่นใหม่ไปใช้กับฮาร์ดดิสรุ่นเก่ามากงานนี้ให้เปลี่ยนฮาร์ดดิสเป็นรุ่นใหม่เพื่อใช้งาน

- HARD DISK DISK(S) FAIL (08)
บางส่วนของฮาร์ดดิส(Sector)เสียหาย ทำให้ไม่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสลูกนั้นได้อีก หากมีประกันเหลืออยู่ให้ส่งเคลม

- Keyboard error or no keyboard present
ไม่สามารถค้นหาคีบอร์ดพบ ให้ตรวจสอบดูว่าได้เสียบสายแล้วหรือยังถ้าเสียบแล้วยังเป็นอยู่ ลองนำไปเสียบกับเครื่องอื่นดูถ้าหากใช้ได้แสดงว่าช่องต่อเมนบอร์ดเสีย ถ้าใช้ไม่ได้แสดงว่าคีบอร์ดเสีย

- Memory test fail
เกิดความผิดพลาดกับหน่วยความจำ(Ram) ให้เปลี่ยนแรม

ทำไมหน้าจอไม่ติดแต่มีเสียงร้องเท่านั้น

     ในกรณีที่เปิดเครื่องคอมฯขึ้นมาแล้วไม่ปรากฏอาไรเลยและยังมีเสียงร้องน่ารำคาญใจดังขึ้นมาอีก ฮาร์ดแวร์ของคุณมีปัญหาแล้วคับ โชคดีนะคับที่มีเสียงเตือน เสียงเหล่านี้บอกเหตุได้ โดยหลักๆแล้วเสียงที่ดังจะมี แบบซึ่งแต่ละแบบจะบอกปัญหาดังนี้

เสียงปี๊บยาว ครั้งและสั้น ครั้งสลับกัน
อันนี้จะบอกว่าส่วนของการ์ดแสดงผลมีปัญหา วิธีแก้ไขปัญหาคือให้ถอดออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ หากยังไม่หายให้เปลี่ยนการ์ดจอตัวใหม่แค่นี้ก็หายแล้วคับ

เสียงปี๊บยางครั้งเดียววนไปเรื่อยๆ
อันนี้จะบอกว่าส่วนของหน่วยความจำ(Ram) มีปัญหาวิธีแก้ปัญหาคือ ถอดออกแล้วเสียบใหม่ หากมีRamมากกว่า ตัว ให้สลับแถวดูหรือถอดออกจนเหลือตัวเดียวแล้วเปิดเครื่องเพื่อทดสอบว่าอาจมี Ram ตัวใดตัวหนึ่งเสียรึป่าว

หน้าจอเป็นเส้นหรือมีสีเพี้ยน

หากว่าเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วจอภาพของคุณยังเป็นสีเขียวหรือมีเส้นปรากฏอยู่ก็ให้แก้ไขดังนี้

ตรวจดูจอภาพที่สีเพี้ยน
1.1 ลองขยับสายจอภาพที่ต่อกับการ์ดจอ
1.2 หากไม่ดีขึ้นจอภาพอาจเสีย ให้ส่งร้านที่ซื้อมา ( หากมีประกันอยู่ )
1.3 หรือส่งร้านซ่อมจอภาพเพื่อตรวจเช็คอาการและแก้ไขต่อไป

ตรวจดูหน้าจอภาพสั่น
2.1 ลองย้ายลำโพงออกห่างจากจอภาพ ( คลื่นแม่เหล็กจากลำโพงอาจจะลบกวน )
2.2 ดูว่ามีคอมฯ เครื่องอื่นตั้งอยู่ใกล้ๆกันหรือเปล่า ลองย้ายที่ให้ห่างกัน
2.3 ขจัดคลื่นรบกวนโดยเข้าเมนูของจอภาพ แล้วเลือกคำสั่ง DEGAUSS

มองไม่เห็นฮาร์ดดิสตัวใหม่

หลังจากที่เพิ่มฮาร์ดดิสเรียบร้อยแล้วแล้วปรากฏว่าเครื่องมองไม่เห็นฮาร์ดดิสตัวที่เพิ่งต่อเข้าไปใหม่ ให้เข้าไปตั้งค่าไบออสให้รู้จักกับฮาร์ดดิสนั้นด้วย โดยสามารถทำได้ดังนี้

เข้าไบออส
1.1 เมื่อเปิดเครื่องให้กดเข้าไบออสโดยกดปุ่ม <Del> ที่คีบอร์ด
1.2 เลื่อนไปที่เมนู Advanced
1.3 ใช้ปุ่มลูกศรที่คีบอร์ดเลือกไปที่คำสั่ง IDE Configguration แล้วกดปุ่ม Enter
1.4 จะเห็นสถานะที่ไบออสแจ้งว่าไม่สามารถหาฮาร์ดดิสตัวใหม่ได้

ตั้งค่าใหม่
2.1 กดปุ่ม Enter ภายใต้ Primary IDE Slave
2.2 เปลี่ยนจาก Not Detected ให้เปลี่ยนเป็น Hard Disk
2.3 หลังจากนั้นให้กดปุ่ม F10 ที่คีบอร์ดเพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง
2.4 เลือกไปที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter ก็เรียบร้อยแล้วคับ

CD-ROM ไม่ทำงาน

เมื่อเปิดเครื่องแล้วมองไม่เห็นซีดีรอมที่ได้ติดตั้งเพิ่มไป ส่วนใหญ่เป็นเพราะการตั้งค่า Jumper หรือเสียบสายไม่แน่น ให้ลองตรวจเช็คตามนี้ดูคับ

ตรวจสอบค่า Jumper
1.1 ตรวจดู Jumper ว่าต้องกำหนดอย่างไร
1.2 จากนั้นตั้ง Jumper ให้เป็น Slave

ตรวจเช็คสาย
2.1 เช็คดูว่าสายไฟเสียบแน่นหรือยัง
2.2 เช็คสายแพว่าด้านสีแดงกับสายไฟติดหรือไม่ ถ้าไม่ติดให้เสียบสายใหม่

ไดร์ ไฟค้าง

หากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เห็นไฟที่บนไดร์ ติดค้างอยู่ รอแล้วรออีกก็ไม่ยอมดับ นั่นแสดงว่าเราเสียบสายผิดแล้วล่ะคับ วิธีแก้ไขก็ไม่ยากคับลองสลับสายดูดังนี้

เสียบสายใหม่
1.1 ปิดเครื่องแล้วเปิดฝาเคสเครื่องคอมฯ ออก
1.2 สลับสายแพให้แถบสีแดงชนกับสายไฟ

ลืมรหัสผ่านที่ตั้งไว้ใน BIOS

ยังจำได้ไหมคับว่า BIOS หรือ CMOS นั้นเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเก็บค่าทุกอย่างที่ใช้งานของเมนบอร์ดเอาไว้ ถ้าหากตั้งรหัสผ่านใน BIOS แล้วลืมให้ทำตามดังนี้

สลับจั้มเปอร์ให้เป็น Clear CMOS
1.1 ปิดฝาเครื่อง/ถอดปลั๊กให้เรียบร้อย แล้วเปิดฝาเคสเครื่องคอมฯ
1.2 ย้าย Jumper ในเมนบอร์ดให้ไปในตำแหน่ง Clear BIOS ( ให้ดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบ )

สลับจั้มเปอร์แล้วให้รอสักครู่
2.1 เมื่อสลับจั้มเปอร์มาในตำแหน่ง Clear CMOS แล้ว จากนั้นให้รอประมาณ วินาที แล้วค่อยย้ายจั้มเปอร์กลับไปที่เดิม
2.2 เปิดฝาเคสเครื่องฯ แล้วลองเข้าไบออสใหม่อีกครั้ง
2.3 หากยัง Clear BIOS ไม่ได้หรือรหัสผ่านยังอยู่ ก็ให้ถอดถ่านที่เมนบอร์ดออกไว้สักพัก แล้วค่อยใส่กลับตามเดิม

ปรับเวลาเมนบอร์ดให้ตรง

จะเห็นได้บางครั้งหลังจากเราปรับเวลาการใช้งานที่ Windows ไปแล้ว แต่ทุกครั้งที่มีการบู๊ตเครื่องใหม่ เวลาอาจจะเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ถึงจะปรับจากใน Windowsให้ตรงแล้วก็ตาม

ปรับเวลาที่ไบออส
1.1 เปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาแล้วกดเข้าไบออสโดยกดปุ่ม Del เพื่อไปตั้งค่าในไบออส
1.2 ปรับเวลาที่แท็ป Main โดยกดปุ่ม + หรือ -
1.3 กดปุ่ม F10
1.4 เลื่อนลูกศรมาที่ OK เป็นการบันทึกเวลาใหม่เรียบร้อย

CMOS Error

เวลาเปิดเครื่องมาแล้วปรากฏข้อความว่า " CMOS Error  Please press F1 to setup" , "CMOS checksum error - Defaults loaded" หรืออะไรคล้ายอย่างนี้ส่วนมากเกิดจากแบตเตอรี่หรือที่เรียกว่า "ถ่านไบออส" หมด ทำให้ไบออสไม่สามารถเก็บค่าได้ เลยเกิดข้อความ Error ขึ้นมา การแก้ไขเพียงเปลี่ยนถ่านไบออสก็หายแล้ว

ไฟฮาร์ดดิสไม่ยอมติด

หากฮาร์ดดิสทำงานแต่ไฟไม่ยอมติด ก็ไม่ตกใจไปหรอก งานนี้ไม่มีอาไรเสียปัญหาอยู่ตรงที่ไม่ได้เสียบสายจากเครื่องเคสคอมฯ ไปที่เมนบอร์ดเท่านั้นเอง ลองมาดูขั้นตอนการแก้ไขดังนี้

เสียบสายฮาร์ดดิสใหม่ (H.D.D LED)
หาคู่มือเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆมาก่อน แล้วเปิดหน้าที่เป็นรูปเมนบอร์ดแล้วหาตัวที่เขียนว่า H.D.D-LED
1.1 ถอดปลั๊กออกแล้วเปิดฝาเคสเครื่องคอมฯ ออกมา
1.2 หาสายไฟที่เขียนว่า H.D.D-LED
1.3 เสียบลงเมนบอร์ดตามคู่มือ
1.4 ปิดฝาเคสเป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อย

ไม่สามารถใช้สวิตเปิด-ปิดเครื่องได้
ปกติอาการนี้เกิดจากไม่ได้เสียบสายไฟจากเคสคอมฯ ลงไปที่เมนบอร์ดให้ถูกต้อง ซึ่งจุดที่เสียบก็จะอยู่ในส่วนที่เสียบสาย H.D.D-LED ด้วย ดังนั้น หากเกิดปัญหาลักษณะนี้ก็ให้เตรียมคู่มือเมนบอร์ดไว้ก่อนเลย จากนั้นให้เปิดที่เป็นรูปเมนบอร์ดแล้วหาตัวที่ว่า G-Switch หรือ POWER SW และทำตามขั้นตอนดังนี้

เสียบสายใหม่
1.1 ถอดปลั๊กแล้วเปิดฝาเคสออกมา
1.2 นำสายไฟ POWER SW เสียบลงเมนบอร์ดตามคู่มือ
1.3 ปิดฝาเคสเครื่องคอมก็เสร็จเรียบร้อย

ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์


ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

  • [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

ลูกคิด ( Abacus)
  • [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
  • [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
  • [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด
Pascal’s Calculato
  • [ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)

กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )
  • [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ

บัตรเจาะรู
  • [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

    Differnce Engine
  • [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
  • [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

    Atansoff

    ABC computer

    Berry
  • [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
  • [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู
    ENIAC
  • [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้

EDVAC
(first stored program computer)
  • [ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

    หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)

    ทรานซีสเตอร์ (Transistor)
  • [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

    IC
  • [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

    Microprocessor
  • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
  • [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507

ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์
เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก
บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่าสามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง
ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte
ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก
เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง
บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้
ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว
ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง
ถึงยุค Z80
เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)
Computer เครื่องแรกของ IBM
ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ
ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง
กำเนิด แอปเปิ้ล
ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด
อ้างอิงจาก 
http://www.sanambin.com
http://www.wikipedia.com