อ่านไว้จาได้ไม่ต้องยกคอมไปร้านซ่อม มานหนัก
Intro ทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์
การจะแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เราต้องรู้จักชิ้นส่วนต่างๆก่อน ว่ามีหน้าที่อย่างไรบ้าง!!
ส่วนประกอบภายใน Mainboard
- เมนบอร์ด คือ อุปกรณ์หลักคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน โดยตัวเมนบอร์ดจะมี Chipset ที่เป็นตัวคอมคุมการส่งผ่านข้อมูลจากอุปกรณีหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง BIOS
- ไบออส หรือ CMOS เป็นหน่วยความจำที่มีหน้าที่ในการเก็บค่าต่างๆ ของเมนบอร์ดเอาไว้ โดยไบออสจะฝังอยู่ในเมนบอร์ด เราสามารถเข้าไบออสด้วยการกดปุ่ม Del , F2 หรือ F10 ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเมนบอร์ดที่ใช้ CPU
- ซีพียู คือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเทียบเสมือนสมองกลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่คำนวณคำสั่งต่างๆ และสั่งให้แสดงผลลัพธ์ออกมา โดยซีพียูเองจะมีชุดคำสั่งในการประมวลผลข้อมูล ตัวอย่างซีพียูที่โด่งดังในตลาดเช่น lntel หรือ AMD VGA Card
- การ์ดแสดงผล เป็นตัวที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลกราฟฟิก เพื่อทำหน้าที่แสดงภาพขึ้นไปบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
RAM
- หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราว เพื่อที่จะนำไปส่งให้ฮาร์ดดิส ซีพียูหรืออุปกรณ์อื่นๆ ต่อไป โดยข้อมูลที่เก็บอยู่ในแรมนั้นจะหายไปเมื่อมีการปิดเครื่อง Harddisk
- ฮาร์ดดิส เป็นส่วนสำคัญในการเก็บข้อมูลถาวรในส่วนใหญ่เครื่องคอมฯ แบบมาตรฐานนั้นจะสามารถต่ออุปกรณ์ฮาร์ดดิสได้มากที่สุดถึง 4 ตัวด้วยกัน Floppy disk Drive
- ฟล็อปปี้ดิสก์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลในแผ่นดิสไดรว์A Combo Drive
- คอมโบไดรว์ สามารถจะทำได้ทั้งเขียนแผ่น (Write) CD-R ลบ/เขียนแผ่น (Rewrite) CD-RW และสามารถที่จะอ่านแผ่น CD-R , CD-RW, DVD ได้
ส่วนประกอบภายนอก
- จอคอมพิวเตอร์ มีหลักๆ2แบบคือ จอแบบเก่าที่เรียกว่า CRT กับจอแบบใหม่ คือ LCD คับ
- เคส เป็นส่วนที่ยึดอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยเคสจะมีลักษณะเป็นกล่องมาพร้อมกับพาวเวอร์ซับพลาย โดนอุปกรณีทั้งหมดจะถูกติดตั้งอยู่ภายในเคส
- แฟลชไดรว์ เป็นหน่วยความจำแบบพกพาชนิดหนึ่ง (คล้ายๆmp3) ทำหน้าที่เช่นเดียวกับฮาร์ดดิส
- โมเด็มเป็นอุปกรณ์สื่อสารอีกตัวทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยังโลกอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีมากมายหลายแบบ พร้อมกับความเร็วที่เลือกได้ เช่น Analog Modem , ADSL Modem , ISDN Modem และอื่นๆ
- เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์ข้อมูลสู่กระดาษ โดยหลักๆแบ่งการทำงานเป็น 3 แบบ แบบเข็ม,แบบพ่นหมึก,แบบเลเซอร์
- แสกนเนอร์ เป็นเครื่องแปลงเอกสาร รูปภาพ วัตถุ ให้เป็นไฟล์รูปภาพที่นำไปใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
- โปรแกรม แบ่งได้ 2 แบบคือ แบบระบบปฏิบัติการ ( Windows ต่างๆ ) และแบบโปรแกรมเสริมอื่นๆ ที่ทำงานบน Windows เช่น Word , Excel
- ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลแบบเสียงโดยแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์
- คีบอร์ด เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งจะรับข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์แล้วเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปกับคอมพิวเตอร์
- เมาส์ คือ อุปกรณ์ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น ด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ
สรุป จากการที่บอก หลักๆ แล้วคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ใช้งานไม่กี่ชิ้นหรอก หากรู้ว่าตัวไหนมีหน้าที่ทำอะไร ก็จะง่ายต่อการซ่อม
บทที่ 1 สาเหตุที่มักก่อให้เกิดปัญหา
รู้จักกับคอมพิวเตอร์ไปแล้ว คราวนี้มาดูสาเหตุบ้างว่าเกิดจากอะไร
ปัญหาจากฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ต่างๆ
ในส่วนแรกนี้ขอพูดถึงหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์ ก็คือในส่วนของฮาร์ดแวร์ก่อนนะคับ โดยปกติแล้วปัญหาจากฮาร์ดแวร์ จะเกิดในช่วงแรกที่เพิ่งซื้อคอมฯ มาเท่านั้น(หลังจากใช้ได้เดือนถึงสองเดือน) หรืออีกทีก็ตอน หมดอายุการใช้งาน (หลังจากซื้อมา1ปีอาจจะเกิดตอนปีที่ 2 หรือปีที่ 3)
โดยทั่วไปอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นจากฮาร์ดแวร์ ก็จะเป็นอาการที่ทำให้ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมฯ ใช้งานได้เลย หรือเปิดเครื่องไประยะนึงแล้วเครื่องค้างไม่สามารถใช้งานต่อได้
ส่วนใหญ่หากอยู่ในระยะประกันก็จะส่งเคลมจากร้านที่ซื้อมา หรือส่งเข้าศูนย์ที่นำเข้าอุปกรณ์นั้นๆ แต่ถ้าหมดประกันแล้วไม่ใช่อุปกรณ์ที่ซ่อมได้อย่างจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ก็จะไม่นิยมซ่อมเพราะเสียเวลามาก และในบางครั้งค่าซ่อมก็ราคาใกล้เคียงของใหม่อีกด้วย
ดูสาเหตุการณ์เกิดอาการเสีย
- เมนบอร์ด
กระแสไฟฟ้าลัดวงจรและอาการไฟตก-ไฟดับ ดูจะเป็นตัวที่ทำให้เมนบอร์ดเสียได้ง่ายที่สุด รองมาก็เป็นฝุ่นและความร้อน สุดท้ายก็จะเป็นคุณภาพและยี่ห้อ ถ้ายี่ห้อไม่ดีเตรียมตัวได้เลย ส่วนใหญ่เกิิน 1 ปีก็เสียซะแล้ว
- การ์ดจอ
ปกติไม่ค่อยเสีย ถ้าเกิดการเสียจริงๆ ก็มาจากฝุ่นและความร้อนที่สูง และอีกสาเหตุคือไฟตก-ไฟดับ
- การ์ดเสียง
อันนี้เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยเสีย ถ้าจะเสียก็คือหมดอายุการใช้งานของมันแล้ว และอีกสาเหตุคือไฟตก-ไฟดับ
- แรม
ถ้าเสียมักจะเสียมาตั้งแต่ต้น ไม่ค่อยเสียในช่วงการใช้งานซักเท่าไร แต่ที่มักเจอปัญหาคือ ความไม่เข้ากันของแรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือไม่เข้ากับเมนบอร์ด ฉะนั้นควรเลือกแรมที่มีผู้ใช้งานเยอะๆ อย่าง Kingston , Corsair เพราะจะเข้าได้ดีกับเมนบอร์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะต้องทำงานสัมพันธ์กัน
- ฮาร์ดดิส
ตัวนี้มักจะเสียจากการกระแทก ไฟตก-ไฟดับ ฝุ่นและอายุการใช้งาน ถ้าไม่ขยับเขยื้อนไปมาบ่อยๆ โอกาสเสียก็น้อย ยิ่งไม่มีไฟตก-ไฟดับ ก็ยิ่งทำให้ใช้งานได้ยาวขึ้น
- ซีดีรอม
ส่วนใหญ่เสียเพราะใช้งานมากเกินไป หัวอ่านหมดอายุการใช้งาน
- ฟล็อปปี้ดิสไดรว์
เสียยากมาก ถ้าไม่เจออาการลัดวงจรของไฟฟ้า ก็แทบใช้งานได้ตลอด จะมีอาการเสียก็มักจะเสียหลังจาก 1 ปีที่ใช้งาน
- ซีพียู
ชิ้นนี้หาทางเสียยาก แต่ต้องระวังเพราะปกติจะมาจากความร้อนในขณะที่ใช้งาน (พัดลมไม่ทำงาน) จนทำให้เกิดอาการไหม้ของซีพียูได้ อีกปัญหาคือไฟฟ้าลัดวงจร
- จอภาพ
สำหรับจอภาพเกิดจากความเสื่อมของหลอดภาพ จนทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของสีอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งใช้ยี่ห้อไม่ดีอาการเสียจะปรากฏเร็วมาก
- เครื่องพิมพ์
อาการเสียอยู่ที่หัวพิมพ์เป็นหลัก ถ้าเป็นแบบอิงค์เจ็ตเกิดจากการอุดตัน ถ้าเป็นหัวเข็มก็มักจะเข็มหัก
ปัญหาจากซอฟแวร์
อย่างที่บอกนะครับปัญหาที่เกิดจากฮาร์ดแวร์เราไม่สามารถแก้อะไรได้มาก ส่วนใหญ่หากสามารถเปิดเครื่องขึ้นมาได้แล้ว ก็จะเป็นปัญหาของตัวซอฟแวร์นั้นเองเนื่องจากว่าซอฟแวร์เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ต่างๆ และเป็นส่วนที่มักจะเกิดปัญหามากที่สุด การแก้ไขทำได้ยากมากเช่นกันและปัญหามีหลายรูปแบบเลยล่ะคับดังนั้นผู้ซ่อมจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ต่างๆช่วยกันจึงทำได้
ในส่วนนี้ก็ขอแยกปัญหาทางด้านซอฟแวร์ออกเป็นสองส่วนนะคับ คือ ปัญหาจากตัวระบบปฏิบัติการหลักหือพวก Windows และปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมต่างๆ หรือตัวที่เรียกว่า Application program นั่นเอง
ปัญหาจาก Window
Windows ถือเป็นส่วนที่รองรับโปรแกรมทุกอย่าง จึงเป็นตัวปัญหามากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่กว้างและยากต่อการแก้ไข แต่เคราะห์ดีที่ Windows เองยังมีเครื่องมือต่างๆ ไว้คอยช่วยเราแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
โปรแกรมต่างๆ ภายในเครื่อง
หลังจากแก้ปัญหาของ Windows ไปหมดแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ ก็เห็นจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมอื่นๆ เองแล้ว ที่พบบ่อยมากที่สุดก็จะเป็นปัญหาโปรแกรม Error อันเนื่องมาจากโปรแกรมไม่สมบูรณ์ พบได้กับโปรแกรม copy ทั้งหลายวิธีแก้ไขนั้นลองติดตั้งใหม่ดูก่อน ถ้าไม่หายก็ต้องหาตัวติดตั้งใหม่
ไดรเวอร์ปัญหาตัวสุดท้าย
ปัญหาอีกอย่างคือไดรเวอร์ ตัวไดรเวอร์ทำหน้าที่บอกคอมฯว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้คืออะไรทำหน้าที่อะไรถ้าจะคิดเปรียบเทียบไดรเวอร์ก็เหมือนคุณครูนั่นเอง
การเลือกใช้ตัวไดรเวอร์ต้องดูตัว Windows ด้วย เช่น เราไม่สามารถใช้ไดรเวอร์ของ Windows 98 บน Windows 2000 ได้เพราะอาจทำให้ Windows เกิดอาการเสียหายไม่สามารถใช้งานต่อไปได้หรือหากใช้ไดรเวอร์ไม่ตรงกับรุ่นก็ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆได้เช่นกัน
นอกจากนี้หากไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์ก็อาจทำให้ Windows ของคุณมีปัญหาไปด้วยก็ได้ งานอาจถึงขั้นตอนติดตั้ง Windows กันใหม่ทีเดียว
วิธีการแก้ไขปัญหา
จะขอแยกเป็น 2 ส่วนนะคับ คือ แก้ไขปัญหากับอุปกรณ์ และแก้ไขปัญหากับโปรแกรมต่างๆ คับ
แก้ไขปัญหากับอุปกรณ์
ส่วนใหญ่ต้องตรวจเช็คอุปกรณ์ให้ดีว่าเสียหรือไม่ โดยการถอดเข้าถอดออกหรือนำไปเสียบกับเครื่องอื่น ๆ ถ้ายังไม่สามารถใช้งานได้หรือตรวจสอบแบบละเอียดไม่ได้ให้นำไปร้านที่ซื้ออุปกรณ์มาตรวจสอบให้ หากมีปัญหาก็ส่งเคลมอุปกรณ์ชิ้นนั้นทันทีหากมีประกันอยู่ แต่ถ้าหมดประกันแล้ว งานนี้ซื้อใหม่ดีกว่าคับยกเว้นว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเป็นจอภาพ,เครื่องพิมพ์,ลำโพง,เคส พวกนี้ซ่อมได้ราคาไม่แพงด้วย
เทคนิคที่หาอุปกรณ์เสียที่ง่ายที่สุดก็คือ การถอดอุปกรณ์ออกมาเสียบเข้าไปใหม่ให้แน่น ส่วนอีกเทคนิคคือหาอุปกรณ์ที่มั่นใจว่าทำงานได้มาสลับสับเปลี่ยนกับเครื่องคุณดู ค่อยๆสลับไปทีละตัว หากสลับตัวไหนแล้วทำงานได้ก็สามารถสรุปได้ว่าอุปกรณืชิ้นนั้นมีปัญหา ให้เปลี่ยนหรือแก้ไขต่อไป ง่ายๆ แค่นี้แหละคับ แต่ใครไม่มีอะไหล่แนะนำยกไปให้ช่างดีกว่า
อีกวิธีคือ การวิเคราะห์อาการคับ เช่น หากเปิดเครื่องแล้วไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอ ก็ให้คิดว่าอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการแสดงภาพ กรณีนี้ก็มีเมนบอร์ด ซีพียู แรม และการ์ดจอ สันนิษฐานก่อนได้เลยว่าเป็นหนึ่งใน 4 ชิ้นนี้แหละคับ ที่เสียหายลองถอดอุปกรณ์เข้า - ออกหรือสลับสับเปลี่ยนดู ก็จะพบปัญหาแน่นอน
แก้ไขปัญหากับโปรแกรม
หากโปรแกรมไหนมีปัญหาก็ให้ลบทิ้งไป แล้วค่อยติดตั้งลงไปใหม่ เพื่อให้โปรแกรมสมบูรณ์พร้อมการใช้งาน แต่ถ้ายังไม่หายก็ให้เปลี่ยนตัวติดตั้งโปรแกรม หากยังไม่หายแสดงว่าตัว Windows อาจมีปัญหากับโปรแกรมที่คุณติดตั้ง หากต้องการใช้งานโปรแกรมนั้นจริงๆ ลองเปลี่ยนตัว Windows ไปเป็นเวอร์ชั่นอื่นๆ ดู หรือลงWindows ทับอีกรอบเพื่อแก้ไขส่วนที่เกิดปัญหา เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ไขปัญหากับตัวโปรแกรมได้แล้ว
อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับแก้ไขปัญหา
- ไขควง ควรอยู่ใกล้ๆกับเคสเพราะหากมีปัญหาอุปกรณ์เมื่อใด ก็จะสามารถไขเปิดดูอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทันที
- แผ่นบู๊ตเครื่อง อันนี้ต้องมีเสมอมักจะเรียกอีกอย่างว่าแผ่น Startup Disk สามารถทำได้จาก Windows 98 หรือ Me สำหรับบู๊ตเครื่องหากเครื่องบู๊ตไม่ได้
- แผ่นติดตั้ง Windows เป็นอีกตัวที่ต้องมีติดไว้เสมอ เพราะหากเข้าเครื่องไม่ได้หรือ Windows เกิดมีปัญหา จะได้ติดตั้งใหม่ได้เลย
- แผ่นติดตั้งโปรแกรมต่างๆ คงจะหงุดหงิดไม่น้อยหากติดตั้ง Windows ใหม่แล้วไม่มีโปรแกรมสำหรับใช้งาน เตรียมเอาไว้ รับรองได้ใช้งานบ่อยๆ แน่นอน
บทที่ 2 ไขปัญหาฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ต่างๆ
บทนี้เริ่มด้วยการแก้ปัญหาพื้นฐานกันก่อนซึ่งคือฮาร์ดแวร์
ข้อความแสดงข้อผิดพลาดเมื่อเปิดเครื่อง
ปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์ของเครื่อง โดยเทคนิคที่เรียกว่า POST ซึ่งหากประสบปัญหาคอมพิวเตอร์จะคืนค่ากลับมาเป็นตัวเลขและชื่อสั้นๆเป็นหน้าจอดำ เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาได้ โดยโค๊ดต่างๆมีความหมายดังนี้
- CMOS CHECKSUM ERROR
เกิดจากไบออสมีปัญหา ส่วนใหญ่จะเป็นตั้งแต่เริ่มใช้เครื่องใหม่ๆแล้ว หากใช้มาระยะหนึ่งก็คือถ่านไบออสใกล้หมดแล้ว เปลี่ยนถ่านใหม่ก็หาย
- FLOPPY DISK (S) FAIL (80)
ไดร์ A มีปัญหามองไม่เห็นให้ตรวจเช็คว่าเสียบสายถูกต้องและตรวจเช็คว่าไดร์ A ทำงานได้อยู่ ด้วยการนำไปต่อกับการใช้คอมเครื่องอื่นๆ ดู
- FLOPPY DISK (S) FAIL (40)
ไดร์ A ที่เลือกไว้ไม่ตรงกับที่ใช้งานอยู่ ให้เปลี่ยนค่าในไบออสให้ถูกต้อง
- HARD DISK DISK(S) FAIL (80)
ฮาร์ดดิสตรวจเช็คไม่ได้ หาไม่เจอ ให้ตรวจเช็คว่าเสียบสายถูกต้องหรือยัง ถ้าเสียบถูกต้องแล้วให้ลองไปเสียบกับเครื่องอื่นดู เพื่อเช็คว่าฮาร์ดดิสเสียหรือไม่
- HARD DISK DISK(S) FAIL (40)
ตัวควบคุมฮาร์ดดิสที่อยู่บนบอร์ด (IDE0 , IDE1)
- HARD DISK DISK(S) FAIL (20)
เริ่มไม่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสได้ ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นจากเมนบอร์ดไม่สามารถรองรับฮาร์ดดิสที่เลือกใช้ มักเกิดขึ้นจากเอาเมนบอร์ดรุ่นใหม่ไปใช้กับฮาร์ดดิสรุ่นเก่ามากงานนี้ให้เปลี่ยนฮาร์ดดิสเป็นรุ่นใหม่เพื่อใช้งาน
- HARD DISK DISK(S) FAIL (08)
บางส่วนของฮาร์ดดิส(Sector)เสียหาย ทำให้ไม่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสลูกนั้นได้อีก หากมีประกันเหลืออยู่ให้ส่งเคลม
- Keyboard error or no keyboard present
ไม่สามารถค้นหาคีบอร์ดพบ ให้ตรวจสอบดูว่าได้เสียบสายแล้วหรือยังถ้าเสียบแล้วยังเป็นอยู่ ลองนำไปเสียบกับเครื่องอื่นดูถ้าหากใช้ได้แสดงว่าช่องต่อเมนบอร์ดเสีย ถ้าใช้ไม่ได้แสดงว่าคีบอร์ดเสีย
- Memory test fail
เกิดความผิดพลาดกับหน่วยความจำ(Ram) ให้เปลี่ยนแรม
ทำไมหน้าจอไม่ติดแต่มีเสียงร้องเท่านั้น
ในกรณีที่เปิดเครื่องคอมฯขึ้นมาแล้วไม่ปรากฏอาไรเลยและยังมีเสียงร้องน่ารำคาญใจดังขึ้นมาอีก ฮาร์ดแวร์ของคุณมีปัญหาแล้วคับ โชคดีนะคับที่มีเสียงเตือน เสียงเหล่านี้บอกเหตุได้ โดยหลักๆแล้วเสียงที่ดังจะมี 2 แบบซึ่งแต่ละแบบจะบอกปัญหาดังนี้
- เสียงปี๊บยาว 1 ครั้งและสั้น 3 ครั้งสลับกัน
อันนี้จะบอกว่าส่วนของการ์ดแสดงผลมีปัญหา วิธีแก้ไขปัญหาคือให้ถอดออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ หากยังไม่หายให้เปลี่ยนการ์ดจอตัวใหม่แค่นี้ก็หายแล้วคับ
- เสียงปี๊บยางครั้งเดียววนไปเรื่อยๆ
อันนี้จะบอกว่าส่วนของหน่วยความจำ(Ram) มีปัญหาวิธีแก้ปัญหาคือ ถอดออกแล้วเสียบใหม่ หากมีRamมากกว่า 1 ตัว ให้สลับแถวดูหรือถอดออกจนเหลือตัวเดียวแล้วเปิดเครื่องเพื่อทดสอบว่าอาจมี Ram ตัวใดตัวหนึ่งเสียรึป่าว
หน้าจอเป็นเส้นหรือมีสีเพี้ยน
หากว่าเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วจอภาพของคุณยังเป็นสีเขียวหรือมีเส้นปรากฏอยู่ก็ให้แก้ไขดังนี้
1 ตรวจดูจอภาพที่สีเพี้ยน
1.1 ลองขยับสายจอภาพที่ต่อกับการ์ดจอ
1.2 หากไม่ดีขึ้นจอภาพอาจเสีย ให้ส่งร้านที่ซื้อมา ( หากมีประกันอยู่ )
1.3 หรือส่งร้านซ่อมจอภาพเพื่อตรวจเช็คอาการและแก้ไขต่อไป
2 ตรวจดูหน้าจอภาพสั่น
2.1 ลองย้ายลำโพงออกห่างจากจอภาพ ( คลื่นแม่เหล็กจากลำโพงอาจจะลบกวน )
2.2 ดูว่ามีคอมฯ เครื่องอื่นตั้งอยู่ใกล้ๆกันหรือเปล่า ลองย้ายที่ให้ห่างกัน
2.3 ขจัดคลื่นรบกวนโดยเข้าเมนูของจอภาพ แล้วเลือกคำสั่ง DEGAUSS
มองไม่เห็นฮาร์ดดิสตัวใหม่
หลังจากที่เพิ่มฮาร์ดดิสเรียบร้อยแล้วแล้วปรากฏว่าเครื่องมองไม่เห็นฮาร์ดดิสตัวที่เพิ่งต่อเข้าไปใหม่ ให้เข้าไปตั้งค่าไบออสให้รู้จักกับฮาร์ดดิสนั้นด้วย โดยสามารถทำได้ดังนี้
1 เข้าไบออส
1.1 เมื่อเปิดเครื่องให้กดเข้าไบออสโดยกดปุ่ม <Del> ที่คีบอร์ด
1.2 เลื่อนไปที่เมนู Advanced
1.3 ใช้ปุ่มลูกศรที่คีบอร์ดเลือกไปที่คำสั่ง IDE Configguration แล้วกดปุ่ม Enter
1.4 จะเห็นสถานะที่ไบออสแจ้งว่าไม่สามารถหาฮาร์ดดิสตัวใหม่ได้
2 ตั้งค่าใหม่
2.1 กดปุ่ม Enter ภายใต้ Primary IDE Slave
2.2 เปลี่ยนจาก Not Detected ให้เปลี่ยนเป็น Hard Disk
2.3 หลังจากนั้นให้กดปุ่ม F10 ที่คีบอร์ดเพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง
2.4 เลือกไปที่ OK แล้วกดปุ่ม Enter ก็เรียบร้อยแล้วคับ
CD-ROM ไม่ทำงาน
เมื่อเปิดเครื่องแล้วมองไม่เห็นซีดีรอมที่ได้ติดตั้งเพิ่มไป ส่วนใหญ่เป็นเพราะการตั้งค่า Jumper หรือเสียบสายไม่แน่น ให้ลองตรวจเช็คตามนี้ดูคับ
1 ตรวจสอบค่า Jumper
1.1 ตรวจดู Jumper ว่าต้องกำหนดอย่างไร
1.2 จากนั้นตั้ง Jumper ให้เป็น Slave
2 ตรวจเช็คสาย
2.1 เช็คดูว่าสายไฟเสียบแน่นหรือยัง
2.2 เช็คสายแพว่าด้านสีแดงกับสายไฟติดหรือไม่ ถ้าไม่ติดให้เสียบสายใหม่
ไดร์ A ไฟค้าง
หากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เห็นไฟที่บนไดร์ A ติดค้างอยู่ รอแล้วรออีกก็ไม่ยอมดับ นั่นแสดงว่าเราเสียบสายผิดแล้วล่ะคับ วิธีแก้ไขก็ไม่ยากคับลองสลับสายดูดังนี้
1 เสียบสายใหม่
1.1 ปิดเครื่องแล้วเปิดฝาเคสเครื่องคอมฯ ออก
1.2 สลับสายแพให้แถบสีแดงชนกับสายไฟ
ลืมรหัสผ่านที่ตั้งไว้ใน BIOS
ยังจำได้ไหมคับว่า BIOS หรือ CMOS นั้นเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเก็บค่าทุกอย่างที่ใช้งานของเมนบอร์ดเอาไว้ ถ้าหากตั้งรหัสผ่านใน BIOS แล้วลืมให้ทำตามดังนี้
1 สลับจั้มเปอร์ให้เป็น Clear CMOS
1.1 ปิดฝาเครื่อง/ถอดปลั๊กให้เรียบร้อย แล้วเปิดฝาเคสเครื่องคอมฯ
1.2 ย้าย Jumper ในเมนบอร์ดให้ไปในตำแหน่ง Clear BIOS ( ให้ดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบ )
2 สลับจั้มเปอร์แล้วให้รอสักครู่
2.1 เมื่อสลับจั้มเปอร์มาในตำแหน่ง Clear CMOS แล้ว จากนั้นให้รอประมาณ 5 วินาที แล้วค่อยย้ายจั้มเปอร์กลับไปที่เดิม
2.2 เปิดฝาเคสเครื่องฯ แล้วลองเข้าไบออสใหม่อีกครั้ง
2.3 หากยัง Clear BIOS ไม่ได้หรือรหัสผ่านยังอยู่ ก็ให้ถอดถ่านที่เมนบอร์ดออกไว้สักพัก แล้วค่อยใส่กลับตามเดิม
ปรับเวลาเมนบอร์ดให้ตรง
จะเห็นได้บางครั้งหลังจากเราปรับเวลาการใช้งานที่ Windows ไปแล้ว แต่ทุกครั้งที่มีการบู๊ตเครื่องใหม่ เวลาอาจจะเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ถึงจะปรับจากใน Windowsให้ตรงแล้วก็ตาม
1 ปรับเวลาที่ไบออส
1.1 เปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาแล้วกดเข้าไบออสโดยกดปุ่ม Del เพื่อไปตั้งค่าในไบออส
1.2 ปรับเวลาที่แท็ป Main โดยกดปุ่ม + หรือ -
1.3 กดปุ่ม F10
1.4 เลื่อนลูกศรมาที่ OK เป็นการบันทึกเวลาใหม่เรียบร้อย
CMOS Error
เวลาเปิดเครื่องมาแล้วปรากฏข้อความว่า " CMOS Error Please press F1 to setup" , "CMOS checksum error - Defaults loaded" หรืออะไรคล้ายอย่างนี้ส่วนมากเกิดจากแบตเตอรี่หรือที่เรียกว่า "ถ่านไบออส" หมด ทำให้ไบออสไม่สามารถเก็บค่าได้ เลยเกิดข้อความ Error ขึ้นมา การแก้ไขเพียงเปลี่ยนถ่านไบออสก็หายแล้ว
ไฟฮาร์ดดิสไม่ยอมติด
หากฮาร์ดดิสทำงานแต่ไฟไม่ยอมติด ก็ไม่ตกใจไปหรอก งานนี้ไม่มีอาไรเสียปัญหาอยู่ตรงที่ไม่ได้เสียบสายจากเครื่องเคสคอมฯ ไปที่เมนบอร์ดเท่านั้นเอง ลองมาดูขั้นตอนการแก้ไขดังนี้
1 เสียบสายฮาร์ดดิสใหม่ (H.D.D LED)
หาคู่มือเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆมาก่อน แล้วเปิดหน้าที่เป็นรูปเมนบอร์ดแล้วหาตัวที่เขียนว่า H.D.D-LED
1.1 ถอดปลั๊กออกแล้วเปิดฝาเคสเครื่องคอมฯ ออกมา
1.2 หาสายไฟที่เขียนว่า H.D.D-LED
1.3 เสียบลงเมนบอร์ดตามคู่มือ
1.4 ปิดฝาเคสเป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อย
ไม่สามารถใช้สวิตเปิด-ปิดเครื่องได้
ปกติอาการนี้เกิดจากไม่ได้เสียบสายไฟจากเคสคอมฯ ลงไปที่เมนบอร์ดให้ถูกต้อง ซึ่งจุดที่เสียบก็จะอยู่ในส่วนที่เสียบสาย H.D.D-LED ด้วย ดังนั้น หากเกิดปัญหาลักษณะนี้ก็ให้เตรียมคู่มือเมนบอร์ดไว้ก่อนเลย จากนั้นให้เปิดที่เป็นรูปเมนบอร์ดแล้วหาตัวที่ว่า G-Switch หรือ POWER SW และทำตามขั้นตอนดังนี้
1 เสียบสายใหม่
1.1 ถอดปลั๊กแล้วเปิดฝาเคสออกมา
1.2 นำสายไฟ POWER SW เสียบลงเมนบอร์ดตามคู่มือ
1.3 ปิดฝาเคสเครื่องคอมก็เสร็จเรียบร้อย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น